ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

23 เมษายน 2022 - Story

ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้อย่างเสมอภาค

ีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์  Bangkok Post  Opinion section

ในวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากลเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานับเป็นวันเฉลิมฉลองการอ่าน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งอย่างหนึ่งสำหรับวัยเริ่มเรียนรู้ของเด็ก แต่กระนั้นเด็กจำนวนมากในประเทศไทยโดยเฉพาะยิ่งในกลุ่มผู้ยากไร้และชายขอบ ล้วนไม่มีโอกาสได้รับเครื่องมือและการสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับการอ่านและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 

ช่วง 6 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ประสบการณ์ในช่วงแรกๆของชีวิตจะส่งผลต่อการพัฒนาของสมองโดยตรง ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ สุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมในอนาคต หากเด็กขาดโอกาสในการพัฒนาดังกล่าวในช่วงวัยเยาว์ที่สำคัญนี้ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างทันทีทันใดและยาวนานในอนาคต

โอกาสในการศึกษาของประเทศไทยได้กระจายไปอย่างไร้ความเสมอภาคและเท่าเทียมอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่าในจังหวัดนราธิวาสเขตแดนใต้สุดของประเทศไทย มีเด็กวัยระหว่าง 3 ถึง 5 ปีจำนวนร้อยละ 4-5 เท่านั้นที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล (อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยคือร้อยละ 84) และมีเด็กเพียง 2 ใน 10 คนในโรงเรียนอนุบาลที่อำเภอศรีสาครได้เรียนด้วยภาษาถิ่นที่ตนเองเข้าใจอย่างแท้จริง การสำรวจอีกเรื่องหนึ่งในอำเภอศรีสาครแสดงให้เห็นถึงการขาดความตระหนักทั้งในฐานะพ่อแม่และผู้ปกครอง ในการตอบสนองต่อเด็กรวมทั้งการมีหนังสือให้เด็กอ่านจำนวนจำกัดในภาษาถิ่น  

ในปี 2559 มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) ทำการศึกษาสำรวจในจังหวัดนราธิวาสและตาก พบว่าเด็กในจังหวัดนราธิวาสมีคะแนนต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันในภาคตะวันตกเฉียงเหนือร้อยละ 30 ถึง 50 ในสี่หัวข้อการประเมิน ได้แก่ การรู้หนังสือ การนับจำนวน การพัฒนาทางกายภาพและการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (IDELA) ปัจจุบันมีโครงการทั่วประเทศไทยเพื่อหาทางขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเขตภูมิศาสตร์ดังกล่าว และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสพัฒนาการอ่าน การเรียนรู้ รวมทั้งได้รับอุปกรณ์การเรียนตามสมควร

ทั้งนี้ Save the Children ได้ดำเนินโครงการ  "First Read" และ "Eat, Play, Love, Read" ในอำเภอศรีสาครมาตั้งแต่ปี 2559 โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏและมูนิธิเปอร์กาซา โครงการดังกล่าวเริ่มด้วยความมุ่งมั่นพื้นฐานที่จะส่งเสริมความร่วมมือของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กและพัฒนาโอกาสให้เด็กมีหนังสือสองภาษา (ไทยและมาลายู) เพื่อพัฒนาการด้านการอ่านและการนับจำนวน  

ด้วยความสนับสนุนของเครือข่าย Father’s Reading และนักเขียนในท้องที่ จึงมีการสร้างสรรค์หนังสือเด็กสองภาษาคือไทย-มาลายูเพื่อให้ดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวส่งผลดีต่อเด็กๆอย่างยิ่ง ในปี 2564  มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) ทำการประเมินผลที่บ่งชี้ว่าพบพัฒนาการทั้งด้านการอ่านและการนับจำนวนสูงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2562 ร้อยละ 16 โครงการพัฒนาหนังสือดังกล่าวจนเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรางวัล “หนังสือดีเด่นสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี” พระราชทานแก่ แก้วตา แสงสุข และ ระพีพรรณ พัฒนาเวช ผู้แต่งหนังสือแตงโมลูกโตโต เมื่อวันที่ 26 มีนาคม โครงการที่คล้ายคลึงกันนี้ล้วนใช้ศักยภาพมหาศาลของผู้ปกครองที่จะตระหนักถึงพลังของตนเองในการปรับปรุงชีวิตและโอกาสของลูกๆ ตน อีกทั้งค้นพบว่าการอ่านเชิงวิเคราะห์ การเรียนรู้ และการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่มีต่อเป้าหมายเหล่านี้เป็นอย่างไร

ลูกสาวและผมมีความสนิทสนมกันมากกว่าแต่ก่อน เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้วว่ากิจกรรมและวิธีที่จะเล่นกับลูกๆควรเป็นอย่างไร และลูกผมเองก็มีความสุขสนุกกับเกมและหนังสือนิทานที่คุณครูให้มา กิจกรรมเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่เล็ก” คุณพ่อวัย 58 ปี คาริม ยะห์มาลี จากนราธิวาส กล่าวถึงความสัมพันธ์กับลูกสาวนับตั้งแต่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Eat Play Love Read

ดังนั้นการส่งเสริมความต่อเนื่องและขยายโครงการดังกล่าวรวมถึงโครการที่คล้ายคลึงกันนั้น ต้องเน้นการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการอ่านและสภาพแวดล้อมในบ้านในเชิงบวกรวมถึงผู้ปกครอง โดยจะทำให้เกิดขั้นตอนเชิงบวกในการสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงระบบการศึกษาของไทยอย่างเท่าเทียมกันและมีอนาคตที่สดใสสำหรับเด็กทุกคนในประเทศไทย

 

ดย Sarah Dubreuil ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) และ Somxay Inthasone, ที่ปรึกษาด้านเทคนิคการศึกษา มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)

ทความนี้เนื่องใน "วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล"  23 เมษายน