ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

15 พฤษภาคม 2022 - Story

การศึกษาที่ถูกหยุดนิ่ง

“ในช่วงล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ด้านการศึกษาเองก็ถูกล็อคและหยุดชะงักเช่นกัน เรามีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 300 คนตั้งแต่ชั้น ม.1  ถึง ม.6 โดยที่ผมสามารถสอนผ่านชั้นเรียนออนไลน์ได้ครอบคลุมเพียงเพียงร้อยละ 50 ของบทเรียนเท่านั้น ซึ่งผมรู้ดีว่ายังไม่เพียงพอต่อการเตรียมตัวสอบปลายภาคสำหรับพวกเขา”

Ni Doh Stoo ซึ่งเป็นครูที่แคมป์แม่ลาบอกเราว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อโรงเรียนในแคมป์ถูกบังคับให้ปิดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาเป็นหนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่มากกว่า 50,000 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทางค่ายได้เผชิญกับความท้าทายอย่างมากก่อนการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการศึกษาของผู้ลี้ภัยซึ่งอยู่ในภาวะฉุกเฉินแล้ว เนื่องจากการขาดทั้งปริมาณและคุณภาพของครูในค่าย ขาดการรับรองการศึกษาทั้งในระบบการศึกษาของไทยและเมียนมาร์ ประกอบกับอุปกรณ์การศึกษาไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ ดังนั้นการระบาดของ COVID-19 จึงเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้การศึกษาในค่ายแย่ลงถึงขีดสุด

เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ คน มันเดย์ วิน โน และ ทอว์ โพ ย้ายไปค่ายแม่ลาในปี 2549 ขณะที่ทุกคนยังเด็กมากเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในเมียนมาร์ ทั้งๆที่การย้ายค่ายไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการหารายได้ แต่ด้วยเหตุฉุกเฉินและการล่มสลายทางเศรษฐกิจในเมียนมาร์ พ่อแม่ของทุกคนจึงไม่มีทางเลือกใดๆมากนัก

Ni Doh Stoo เน้นว่าเนื่องจากทางเลือกงานในค่ายมีจำกัด รวมทั้งการขาดคำแนะนำประกอบกับความยากจนเด็กๆจึงไม่ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเป็นสาเหตุให้เด็กต้องออกจากโรงเรียนแล้วทำงานได้เฉพาะในค่าย เช่น เป็นครู มิชชันนารี หรือเจ้าหน้าที่ค่าย

 “การเรียนออนไลน์ที่บ้านเป็นเรื่องยาก ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนที่ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กๆ  ในห้องเรียนคุณสามารถถามครูหรือขอพบคุณครูได้หลังเลิกเรียนเมื่อมีปัญหา มีการเรียนรู้ออนไลน์มีปัญหามากมายนัก เช่น ความเสถียรของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงคุณภาพของภาพและเสียง ซึ่งทำให้การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องยากหรับฉันที่จะติดตาม นอกจากนี้ ค่าเน็ตในค่ายยังต้องเสียค่าบริการรายเดือนประมาณ 150-200 บาทไทย”

การศึกษาในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 นั้นยากมากและจำเป็นต้องหยุดนิ่งชั่วคราว นักเรียนส่วนใหญ่ถูกบังคับให้เรียนจากที่บ้านด้วยการเรียนรู้ออนไลน์เนื่องจากการปิดโรงเรียน ด้วยขีดจำกัดในการเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดี การขาดอุปกรณ์ (สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเล็ต) และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับนักเรียนหลายคนรวมถึงมันเดย์ที่จะตั้งใจเรียนออนไลน์ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากบทเรียนเหล่านั้น

ในอีกทางหนึ่ง การเยี่ยมบ้านก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน เนื่องจาก เบลล์ ซุย พอว์ พบว่าหลายครอบครัวกลัวการติดเชื้อ COVID-19 จากผู้มาเยี่ยม ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับทุกคนทั้งครูและนักเรียน

โควิด-19 นั้นเป็นปัญหาสำหรับทุกคน ฉันรู้สึกเสียใจมากสำหรับนักเรียนที่การศึกษาของทุกคนถูกบังคับให้หยุดชะงัก ทั้งๆที่ฉันพยายามอย่างเต็มที่ๆจะไปเยี่ยมบ้านเด็กๆเพื่อตรวจสอบว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือด้านการเรียนรู้และมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่ แต่หลายครอบครัวกลับกังวลเรื่องการมาเยี่ยมบ้านเพราะมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 จากผู้มาเยี่ยมเยือน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการติดเชื้อมากสูงสุดในช่วงที่ฉันขาดการติดต่อกับนักเรียนของเรา"

เนื่องจากการปิดโรงเรียนเป็นเวลานานในค่ายโดยไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวและการติดเชื้อ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง Save the Children จึงได้พัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ที่บ้าน (HBL) พร้อมของใช้เพื่อสุขอนามัยเช่นหน้ากากเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย การแจกจ่าย HBL จึงช่วยให้ครูมีส่วนร่วมและสร้างความสนใจกับนักเรียนได้ดีขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่ เบลล์ ซุย พอว์ กล่าวว่านักเรียนของเธอรู้สึกตื่นเต้นกับสื่อการเรียนที่จัดเตรียมให้ นอกจากนี้ ชุดเครื่องมือ HBL ยังมีประโยชน์ในมุมมองของนักเรียน โดยเฉพาะกับ ทอว์ โพ เธอประหยัดเวลาได้มากจากการติดตามจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนขนาดเล็กเพื่อจดบันทึก ขณะนี้เธอสามารถใช้หนังสือเรียนและแบบฝึกหัดที่ให้มาแทนได้

ชุดการเรียนรู้ที่บ้านมีประโยชน์มากเพราะ เราสามารถเวลาเรียนได้ด้วยตนเองซึ่งเหมาะกับกิจวัตรประจำวันของฉัน ชุดการเรียนรู้นี้ยังมีหนังสือเรียนและแบบฝึกหัดให้มาด้วย ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องจดบันทึกและสามารถอ่านและทำการบ้านได้อย่างสะดวกมากขึ้น

นอกจากนี้ ครูยังได้รับการฝึกอบรม MHPSS ก่อนการบริการและระหว่างบริการ และ PSA ในช่วงล็อกดาวน์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในด้านจิตใจและวิชาการได้ดียิ่งขึ้น Ni Doh Stoo เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการฝึกอบรม MHPSS ช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของเขาได้จริง และทำให้เข้าถึงนักเรียนในแง่บวกและเน้นย้ำได้มากขึ้น ดังนั้นการเปิดโรงเรียนอีกครั้งจะเหมาะสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวสามารถช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ต่อไปและสนับสนุนครูให้พัฒนาบทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียนต่อไปท่ามกลางความท้าทายและความไม่แน่นอนจากการระบาดใหญ่