Skip to main content

10 April 2015 - News

คำถามที่ต้องการคำตอบ: มีที่ให้การศึกษาของเด็กผู้ลี้ภัยหรือไม่?

องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ร่วมกับมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ (Right to Play) องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย (Jesuit Refugee Service) และองค์การแอ๊ดดร้าประเทศไทย (Adventist Development and Relief Agency) จัดฉายภาพยนตร์สั้นรอบสื่อมวลชนเรื่อง ‘การศึกษา: ต่อเติมฝันเด็กผู้ลี้ภัย’  (Recognize Our Education: Realize Our Dreams) พร้อมทั้งมีเวทีเสวนาในหัวข้อสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กผู้ลี้ภัยในงาน“การศึกษาของผู้ลี้ภัย: สิทธิเด็กที่ขาดหายไปจากสังคม  ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2558 ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย อาคารมณียา กรุงเทพฯ

ปัจจุบันการศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัยไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาหลักของประเทศใด ทำให้เด็กผู้ลี้ภัยประสบปัญหาไม่ได้รับการรับรองความรู้จากระบบการศึกษาใดเลย ปัจจุบัน มีผู้อพยพลี้ภัยราว 110,000 คนพำนักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานการณ์ด้านการลี้ภัยที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในโลก

การเลือกตั้งในประเทศเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2553 และข้อตกลงหยุดยิงในระดับทวิภาคีต่างๆในปี พ.ศ. 2555 ทำให้เกิดความคาดหวังเรื่องความปรองดองในชาติ และการย้ายกลับถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยโดยสมัครใจเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยไม่สอดคล้องกับระบบการศึกษาทั้งของประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ ดังนั้น การศึกษาที่เด็กในค่ายเหล่านี้ก็ได้รับยังคงไม่ได้รับการยอมรับภายนอกค่ายผู้ลี้ภัย

ภาพยนตร์เรื่อง ‘การศึกษา: ต่อเติมฝันเด็กผู้ลี้ภัย’ ได้ยกเสียงของเด็กผู้ลี้ภัยและครูขึ้นมาเพื่อเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรับรองสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กผู้ลี้ภัย นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของค่ายผู้ลี้ภัยและจัดการอภิปรายอีกด้วย

องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ประจำประเทศไทย ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ (Right to Play) องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย (Jesuit Refugee Service) และองค์การแอ๊ดดร้าประเทศไทย (Adventist Development and Relief Agency)  คณะกรรมการด้านการศึกษาของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง (Karen Refugee Committee Education Entity) และแผนกการศึกษาของชาวกะเหรี่ยง (Karenni Education Department) ผ่านโครงการถ่ายโอนการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education Support towards Transition: BEST) เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดโปรแกรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหาทางออกด้านการศึกษาที่ยั่งยืนสำหรับเด็กที่พำนักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ในประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่าโดยโครงการฯได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและกระทรวงต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย

รายละเอียดงาน

สื่อมวลชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ตามรายละเอียดดังนี้
วันที่:      ศุกร์ 24 เมษายน 2558
เวลา:      15.00 – 17.00 น.
สถานที่:   สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ
เริ่มลงทะเบียนเวลา 14.30 น. ตามด้วยเวทีเสวนาเรื่องบริบทด้านการศึกษาของผู้ลี้ภัยในปัจจุบันและมุมมองของเด็กและผู้ลี้ภัย รวมถึงวาระการปฏิรูปของประเทศเมียนมาร์และสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัยที่เป็นชนกลุ่มน้อย 

###

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ทรงพร ลีลากิตติโชค
เจ้าหน้าที่ประสานงานการสื่อสารและรณรงค์
องค์การช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)
อีเมล: bea.leelakitichok@savethechildren.org