เด็กที่เผชิญกับความเหลื่อมล้ำและการถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดจะได้รับความช่วยเหลือและการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ผ่านการให้ความรู้ปรับปรุงทักษะและทัศนคติของผู้มีบทบาทในการคุ้มครองเด็กผู้ปกครองและครู
รัฐบาลไทยมีความกระตือรือร้นในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับใหม่ในเรื่องการคุ้มครองเด็ก แต่ทว่ากฎหมายส่วนใหญ่มีผลกับผู้ที่เป็นคนไทยเท่านั้นซึ่งไม่ครอบคลุมถึงเด็กกว่า 300,000 คนจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ประเทศไทยมีการขยายตัวเป็นเมืองและดึงดูดผู้คนจากพื้นที่ชนบททั่วประเทศจึงทำให้มีเด็กหลั่งไหลเข้าและออกจากจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้นทำให้ยิ่งจำเป็นต้องจัดวางระบบการคุ้มครองเด็กที่ปลอดภัยเพื่อให้รับรองสิทธิเด็กในภาวะเปราะบางได้ทุกคน
เด็กในประเทศไทยโดยเฉพาะเด็กข้ามชาติและผู้ลี้ภัยยังเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรมทางร่างกายและทางเพศการถูกละเลยการต้องตกเป็นแรงงานในงานที่อันตรายและการค้ามนุษย์เด็กข้ามชาติยังมักไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานต่าง ๆ ได้เช่นการศึกษาการดูแลสุขภาพและความช่วยเหลือทางกฎหมายด้วย
ปัจจุบัน เด็กในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต มีการรายงานถึงความเครียด ความกังวล และความวิตก ตามปกติแล้ว ประชากรที่เปราะบางที่สุดและประชากรย้ายถิ่นต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นอยู่แล้วเพราะมักไม่สามารถเข้าถึงการรักษาสุขภาพจิตได้มากนัก ทั่วประเทศขาดแคลนนักสังคมสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีทักษะด้านสุขภาพจิตและสามารถให้ความช่วยเหลือด้านจิตสังคม และยังขาดความสอดคล้องด้านการประสานงาน ระบบสนับสนุนและมอบหมายงานด้วยจึงทำให้ไม่มีการรายงานปัญหาการคุ้มครองเด็กหรือการรายงานนั้นๆ ถูกมองข้ามไป
เด็กทุกคนในทุกควรที่จะได้เติบโตขึ้นมาอย่างปลอดภัยและได้รับการสนับสนุนองค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการคุ้มครองเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤตและที่เกิดภาวะความขัดแย้งที่เด็กตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด
ในประเทศไทย มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)ทำงานเพื่อสร้างขีดความสามารถของผู้ดูแลและผู้ให้บริการด้านการคุ้มครองเด็ก เช่น นักสังคมสงเคราะห์ในการจัดการกรณีศึกษา, สุขภาพจิตและการสนับสนุนทางจิตสังคม และช่วยเหลือออกจากพื้นที่ที่มีความขัดแย้งไปยังพื้นที่ปลอดภัย และการนำสมาชิกครอบครัวให้มาพบกัน
นอกจากนี้เรายังให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่รัฐบาลไทยและองค์กรในระดับชุมชน ในการสร้างมาตรฐานการดูแลเด็กที่เปราะบางให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเรายังบูรณาการแนวปฏิบัติและขั้นตอนการคุ้มครองเด็กที่ดีที่สุดเข้ากับโครงการลดความเสี่ยงและภัยพิบัติ ทั่วประเทศไทยด้วย
เราทำงานร่วมกับชุมชนผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมให้เยาวชนสามารถรณรงค์และสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นเร่งด่วนด้านความปลอดภัยออนไลน์
ในปีพ.ศ. 2564 เรา:
เราได้ทำงานร่วมกับคนทำงานในชุมชน 270 คนในภาคเหนือของประเทศไทยและภาคใต้ตอนล่างเพื่อสร้างระบบคุ้มครองเด็กในชุมชนให้ดีขึ้น
จำนวนเด็กมากกว่า 96% ที่อาศัยอยู่ในสถานพักพิงที่มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)ทำงานอยู่บอกว่าพวกเขาได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนที่ตรงตามความต้องการของพวกเขา
เราให้การสนับสนุนในการดำเนินนโยบายและจัดระบบการคุ้มครองเด็กในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทยทั้ง 9 แห่ง
“ก่อนที่มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)จะเข้ามา เราเป็นคนวางแผนชีวิตให้กับเด็ก แต่ต่อมา เราได้เรียนรู้ว่าเด็กควรมีส่วนร่วมในการออกแบบแผนการดูแลของพวกเขาด้วย เมื่อเรารู้ว่าพวกเขาต้องการทำอะไร เราก็จะสนับสนุนพวกเขา เมื่อเราจะวางแผนอะไรให้ เราก็จะหารือกับพวกเขาก่อน”
– Life Impact, เจ้าหน้าที่สถานพักพิง FGD