Skip to main content

7 May 2015 - News

สัปดาห์ความปลอดภัยทางถนนแห่งสหประชาชาติ ยื่นรายชื่อเสนอกทม. นำโรงเรียนในสังกัดร่วมโครงการ “เด็กไทยซ้อนท้ายใส่หมวก – 7% PROJECT”

องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) และ มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (Asia Injury Prevention (AIP) Foundation) ได้เข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในวันพุธที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อนำรายชื่อนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปที่ต้องการเห็นโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กสวมหมวกนิรภัย

อีกทั้งเตรียมเสนอโครงการนำร่องที่มุ่งเน้นการให้การศึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมของเด็ก รวมทั้งการอบรมครูและผู้ปกครองโดยมีโรงเรียน กทม. เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในชุมชนอย่างแท้จริง 

นางรัตนวดี เหมนิธิ วินเธอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP) ประเทศไทย กล่าวว่า “จากประสบการณ์ทำงานกว่า 15 ปีของเอไอพีในการดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในภูมิภาคเอเชีย พบว่าเส้นทางที่เด็กใช้บ่อยที่สุด คือจากบ้านไปโรงเรียน และเส้นทางดังกล่าวก็เป็นเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุกับเด็กๆมากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย เราจึงร่วมกับองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) เพื่อออกแบบวางแผนโครงการนำร่องที่เหมาะสมกับประเทศไทยโดยมีโรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลางเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีกทม. เป็นหน่วยงานแรก

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยในแต่ละปี มีเด็กกว่า 2,600 คนเสียชีวิต หรือมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คนต่อวันได้รับบาดเจ็บหรือพิการ หรือกว่า 72,000 คนต่อปี

มีเด็กในวัยเรียน ทุกๆวันราว 1.3 ล้านคนที่เดินทางโดยการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ แต่กลับมีเพียง 7% เท่านั้นที่สวมหมวกนิรภัย จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ เด็กไทยซ้อนท้ายใส่หมวก – The 7% Project” ซึ่งริเริ่มโดยทั้งสององค์กรเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

นางสาวอรุณรัตน์ วัฒนผลิน ผู้ประสานงานโครงการจากองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ประจำประเทศไทยกล่าวว่ารู้สึกภูมิใจที่มีผู้ร่วมสนับสนุนเป็นจำนวนมากผ่านกิจกรรมทุกครั้งที่จัดรวมทั้งการลงชื่อผ่านทางเว็บไซต์ www.7-percent.org และ change.org

นางสาวอรุณรัตน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า หากกรุงเทพมหานครพร้อมร่วมสนับสนุนทางเราก็พร้อมดำเนินโครงการนำร่องในโรงเรียนกทม.ได้ทันที

กิจกรรมยื่นรายชื่อในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนนภายใต้กรอบสหประชาชาติที่ต้องการเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยปีนี้ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนของเด็กwww.savekidslives2015.org

 

กำหนดการยื่นรายชื่อ เสนอ กทมนำโรงเรียนในสังกัดร่วมโครงการ
เด็กไทยซ้อนท้ายใส่หมวก – 7% Project” 

15.00น. ทีมงานโครงการฯ พร้อมตัวแทนครูและนักเรียนที่ร่วมสนับสนับสนุน เข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ห้องประชุมเจ้าพระยา เพื่อยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนโครงการ

สื่อบันทึกภาพการยื่นรายชื่อ และรับมอบรายชื่อระหว่างทีมงานโครงการฯ ตัวแทนครูและนักเรียน และกับ ม...สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 

15.30น. ทีมงานโครงการฯ บรรยายสรุปถึงเป้าหมายโครงการและความร่วมมือที่ต้องการได้รับจากกรุงเทพมหานคร

15.45น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวแสดงความคิดเห็น

สื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในห้องเพื่อบันทึกภาพตลอดการบรรยาย

เสร็จสิ้นพิธีการ

สื่อสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสัมภาษณ์ตัวแทนโครงการฯ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ

ทุกๆ วันมีน้องๆ วัยเรียนราว 1.3 ล้านคนเดินทางโดยการซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ แต่มีเพียง 7% เท่านั้นที่สวมหมวกกันน็อค แม้ว่าจะมีกฎหมายบังคับใช้ก็ตาม

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยในแต่ละปี มีเด็กกว่า 2,600 คนเสียชีวิต หรือมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คนต่อวันได้รับบาดเจ็บหรือพิการ หรือกว่า 72,000 คนต่อปี

ความสูญเสียเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ด้วยการให้เด็กๆที่เดินทางด้วยการซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง

เครือข่ายองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองเด็กและป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนน นำโดย มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย Asia Injury Prevention (AIP) Foundationและ องค์การช่วยเหลือเด็กประเทศไทย (Save the Children in Thailand)จึงได้ร่วมมือกันริเริ่มโครงการ The 7% Projectโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราการสวมหมวกนิรภัยของเด็กจาก 7% ให้เป็น 60% ทั่วประเทศภายในปี 2560

เนื่องจากการเดินทางจากบ้านไปกลับโรงเรียนคือเส้นทางหลักสำหรับครอบครัว และจักรยานยนต์คือยานพาหนะหลักที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้ในการรับ-ส่ง บุตรหลานในแต่ละวัน ในปีแรก จึงเริ่มต้นการทำงานร่วมกับโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อรณรงค์ให้หมวกกันน็อคเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน โดยจะทำงานร่วมกับชุมชน เด็กๆ ผู้ปกครอง ครู และประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัย

ในปีต่อๆ ไป โครงการนี้จะขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ พร้อมกับขยายขอบข่ายการร่วมงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเพิ่มการณรงค์ให้ครอบคลุมทุกเส้นทางการเดินทางของเด็กๆ

รูปแบบโครงการ

 

เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง The 7% Projectจะมุ่งเน้นการปรับทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ เกี่ยวกับการใช้หมวกนิรภัย พร้อมกับสนับสนุนให้ครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโครงการอย่างเต็มที่ โดยจะดำเนินงานควบคู่กันใน 4 ด้าน ได้แก่

การศึกษา– เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และประโยชน์ของหมวกนิรภัย ทั้งในวิชาพื้นฐานและกิจกรรมนอกหลักสูตร จัดอบรมสำหรับคุณครูและผู้ปกครอง เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบของอุบัติเหตุ

การสื่อสารกับมวลชน– จุดประกายความคิด จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และรายงานทุกความเคลื่อนไหวของโครงการ ตลอดจนเปิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันการรณรงค์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน

การบังคับใช้– ร่วมมือกับโรงเรียนในการออกกฎให้เด็กที่เดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์ต้องสวมหมวกนิรภัย โดยมีคุณครูประจำชั้นคอยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิด  และขอการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในการผลักดันกฎหมายหมวกกันน็อค ให้มีผลบังคับใช้ครอบคลุมทุกเส้นทาง

การสร้างนวัตกรรม– จัดหาหมวกกันน็อคที่มีดีไซน์โดนใจเด็กและวัยรุ่น มีขนาดที่พอดีกับศีรษะ และราคาไม่แพง รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงตัวตนของพวกเขาผ่านหมวกกันน็อค

###

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
คุณทรงพร ลีลากิตติโชค
เจ้าหน้าที่ประสานงานการสื่อสารและรณรงค์
องค์การช่วยเหลือเด็ก
อีเมล: bea.leelakitichok@savethechildren.org