ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเราในประเทศไทย

เด็ก ๆ และชุมชนของพวกเขาได้รับความช่วยเหลือทันทีและสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากสภาพอากาศและจากน้ำมือมนุษย์ทั้งแบบฉับพลันและที่ต่อเนื่องระยะยาว

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปีพ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศโดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 รายเมื่อเร็ว ๆ นี้อุทกภัยในประเทศไทยในปี 2554 ก็ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านเช่นกันโดยเกิดน้ำท่วมใน 65 จังหวัดจาก 77 จังหวัด อุทกภัยและพายุโซนร้อนยังคงเป็นความเสี่ยงภัยพิบัติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยโดยที่มีน้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปีทั่วประเทศ  

โควิด-19 ก็ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนชายขอบและชุมชนที่เปราะบางที่สุดในประเทศมากกว่าที่อื่น ๆ การให้และการตอบสนองด้านมนุษยธรรมเป็นส่วนสำคัญต่อการระดมทุนไทยในประเทศ

สิ่งที่เราทำ

องค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศในฐานะผู้นำระดับโลกด้านการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางจะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤต เราดำเนินงานทั่วโลกอยู่แล้วและเรามักจะเป็นหนึ่งในกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าช่วยเหลือและออกจากพื้นที่เป็นคนสุดท้ายเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน 

ในประเทศไทย มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)ได้เป็นผู้นำและร่วมเป็นผู้นำในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากมาย เช่น ในเหตุการณ์สึนามิในปีพ.ศ. 2547, อุทกภัยในปีพ.ศ. 2554, วิกฤตทะเลอันดามันปีพ.ศ. 2558, รัฐประหารในเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2564 และการหนีภัยของผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมาก, การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ และการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินขนาดเล็กเป็นประจำ 

มูลนิธิฯ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้วยการให้ความคุ้มครองแก่เด็ก ให้พวกเขาได้เข้าถึงการศึกษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ และเสริมพลังชุมชนในการปกป้องตนเอง เราเข้าถึงประชากรชายขอบที่ห่างไกลที่สุด ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งรวมถึงเด็กย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย งานที่เราทำรวมถึงการบรรเทาทุกข์โดยตรง การแจกจ่ายสื่อการเรียนรู้ การเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคนิคสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายด้านการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  ซึ่งการทำงานดังกล่าว ไม่เพียงแต่ช่วยชีวิตได้ในทันทีเท่านั้น แต่เรายังพยายามที่จะลดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนต่าง ๆ ด้วย  

พ.ศ. 2563-2564 

  • เราช่วยเหลือเด็ก ๆ ในค่ายผู้ลี้ภัย 6 ใน 7 แห่งโดยพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ให้ไปใช้ที่บ้านจากโครงการนี้เราได้มอบชุดสุขอนามัยและผลิตภัณฑ์การเรียนรู้ที่บ้าน (HBL) ให้กับเด็กกว่า 13,927 คน 

  • ในปีพ.ศ. 2564 เราได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือผ่านโครงการด้านมนุษยธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้คนกว่า 16,500 คน