ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็ก

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเราในประเทศไทย

เยาวชนที่เผชิญกับความเหลื่อมล้ำและการถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดจะมีโอกาสและทางเลือกที่ยืดหยุ่นในการเข้าถึงงานที่มีคุณค่าได้ 

การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กในประเทศไทย

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาปัญหาความยากจนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยจำนวนคนยากจนร้อยละ 65 ในปี 2531 ลดลงเหลือร้อยละ 6.2 ในปี 2562 แต่ประเทศไทยกำลังกลับมาประสบกับผู้ยากไร้ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอีกครั้ง ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจะมีครัวเรือนที่ตกอยู่ในความยากจนสูงถึงร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการขาดแผนคุ้มครองทางสังคมและโครงการประกันสังคมซึ่งทำให้จำนวนครัวเรือนที่ไม่ยากจนแต่ขาดเสถียรภาพมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19และการออกมาตรการจำกัดต่าง ๆ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเป็นหลัก 

ด้วยการเติบโตที่จำกัดในปีพ.ศ. 2562 และการหดตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปีพ.ศ. 2563 ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งจากการปิดการท่องเที่ยว ความต้องการสินค้าส่งออกประเภทยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ลดลง ตามมาด้วยความสูญเสียด้านการส่งออกสินค้าเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประเทศและแรงงานของประเทศต่อไปเป็นทอด ๆ  ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ กลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุดซึ่งได้แก่ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ผู้หญิง ผู้ทุพพลภาพ เด็ก และผู้สูงอายุ มักจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการสูญเสียรายได้และการขาดความสามารถในการจับจ่าย แม้ว่ารัฐบาลจะนำมาตรการคุ้มครองทางสังคมมาใช้แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้ 

 
สถานการณ์ของแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งก็คือมาเลเซียนั้นน่ากังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากพวกเขาแทบไม่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางสังคมรูปแบบใด ๆ เลย แม้จะขาดรายได้ที่มักจะต้องนำมาใช้เลี้ยงดูคนทั้งครอบครัวก็ตาม 

ในทำนองเดียวกัน ผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาร์ในภาคเหนือและตะวันตกของประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงตลาดแรงงานในระบบมานานหลายปี ทำให้พวกเขาต้องถูกจำกัดให้ทำเฉพาะงานนอกระบบและอยู่ภายในค่ายอพยพเท่านั้น ซึ่งเมื่อขาดโอกาสในการแสดงความสามารถจึงถูกบังคับให้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อไป การช่วยให้คนกลุ่มนี้เข้าให้ผ่านโครงสร้างการเข้าสู่ตลาดแรงงานได้จะทำให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต

สิ่งที่เราทำ

องค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศ ทำงานร่วมกับเด็กครอบครัวและชุมชนเพื่อช่วยชีวิตทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสร้างพลังเข้มแข็งและสร้างสรรค์ นอกจากนี้เรายังฝึกอบรมเยาวชนในกลุ่มเปราะบางให้มีทักษะชีวิตและทักษะในการดำรงชีวิตด้วย เรากำลังร่วมมือกันทำลายวงจรแห่งความยากจน 

ในประเทศไทย มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)  เสนอเส้นทางเลือกสู่การทำงานที่มีคุณค่าและให้ทักษะชีวิตที่สามารถถ่ายทอดได้แก่คนหนุ่มสาวอายุ 15-25 ปี โดยผสมผสานการฝึกอบรมสายอาชีพและเทคนิคเข้าด้วยกัน และหาทางเข้าสู่ตลาดแรงงานให้ อย่างเช่นการเข้าฝึกงาน เป็นพนักงานฝึกหัด และการแนะนำเยาวชนกลุ่มเปราะบางให้ได้ทำงานกับนายจ้างในรูปแบบอื่น ๆ เรามีเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความสามัคคีทางสังคมระหว่างชุมชนต่าง ๆ ด้วย เราดึงผู้ให้บริการและฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและพันธมิตรองค์กรให้เข้ามาร่วมมืออย่างแข็งขัน เพื่อให้บรรลุทั้งความต้องการของเยาวชนและความต้องการของตลาดแรงงาน

ในปีพ.ศ. 2564 เรา: 

  • เราให้ความช่วยเหลือคนหนุ่มสาวในกลุ่มเปราะบางมากกว่า 400 คน (เช่น ผู้ต้องออกจากระบบการศึกษาและคุณแม่วัยรุ่น) เพื่อให้ได้ใบรับรองการฝึกอบรมด้านเทคนิค มีทักษะชีวิตที่สามารถถ่ายทอดได้ มีประสบการณ์ผ่านการฝึกงานและได้รับคำปรึกษา และสำหรับบางคนก็มีโอกาสพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กด้วย 

  • เพื่อลดผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เราจึงสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ในบางชุมชน โดยเรานำผลลัพธ์ที่ได้มาใช้ในการสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่นบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้เรายังได้ช่วยเหลือให้คนหนุ่มสาว 250 คนให้ได้กลับเข้าทำงานอีกครั้งด้วย  

  • เราได้มอบชุดบรรเทาทุกข์จากโควิด-19 ที่จำเป็นมากให้ครัวเรือนจากชุมชน 6 แห่งที่ได้รับผลกระทบจากการกักกันโรค ซึ่งมีทั้งอาหารและสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อบรรเทาความทุกข์จากการสูญเสียรายได้ 

”ภาคใต้หางานยาก ฉันมีความฝันที่จะเปิดร้านเบเกอรี่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของฉันในภาคใต้  หลังจากที่ฉันได้เข้าร่วมโครงการ ฉันก็ได้รับออเดอร์เบเกอรี่จากลูกค้าเป็นจำนวนมาก รายได้ก็เพิ่มขึ้น ฉันจึงมีความสุขมาก” 

- นัสรินกามะเยาวชนจากโครงการ USAID ACHIEVE