Skip to main content

26 March 2015 - News

เด็กต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรนั่งมอเตอร์ไซค์ และกวดขันกฎหมายหมวกกันน็อคในเด็ก

สืบเนื่องจากที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เสนอกฎหมายห้ามเด็กเล็กโดยสารรถจักรยานยนต์ องค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children) จึงร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีโดยสารรถจักรยานยนต์ และกระตุ้นรัฐบาล เจ้าพนักงานจราจร และพนักงานเจ้าหน้าที่ให้กวดขันการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการสวมหมวกนิรภัยแก่ผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปอีกด้วย 

ประเทศไทยได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522กำหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ทุกคน ซึ่งหมายรวมถึงผู้โดยสารที่เป็นเด็กต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อต้องโดยสารด้วยรถจักรยานยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ จากสถิติพบว่าเด็กไทยประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคนที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่สวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์  ซึ่งนำไปสู่ผลเสียหายอย่างร้ายแรงของจำนวนเด็กที่เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ2,600 คน และอีกกว่า 72,000 คน ที่ได้รับบาดเจ็บและพิการจากอุบัติเหตุบนท้องถนน  

องค์การช่วยเหลือเด็กแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีโดยสารรถจักรยานยนต์ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงและมีผลตลอดทั้งชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์เนื่องจากไม่สามารถสวมหมวกนิรภัยได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ องค์การช่วยเหลือเด็กยังแนะนำให้ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ใหญ่เมื่อต้องโดยสารรถจักรยานยนต์

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎข้อบังคับเรื่องดังกล่าว แม้ว่าจะมีกฎหมายจราจรควบคุมให้ผู้โดยสารและผู้ขับขี่รถจักรยานยนสวมหมวกนิรภัยตลอดการเดินทางก็ตาม

คุณอลิสัน เซลโควิทซ์ ผู้อำนวยการองค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย อธิบายว่า“เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอต่อการรับน้ำหนักหมวกกันน็อค ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูงกว่า จึงไม่ควรให้นั่งรถมอเตอร์ไซค์โดยเด็ดขาด และเด็กอายุ 2 ถึง 5 ปี ควรนั่งอยู่หน้าผู้ใหญ่ที่บริเวณด้านหน้าเท่านั้นและต้องสวมหมวกกันน็อคเด็กที่มีขนาดพอดี พร้อมทั้งคาดสายรัดคางให้กระชับทุกครั้ง"

องค์การช่วยเหลือเด็กมุ่งหวังลดอัตราการเสี่ยงภัยของเด็กบนท้องถนน โดยใช้กิจกรรมการสร้างความตระหนักเข้าใจ การศึกษา การบังคับใช้กฎหมาย และเครื่องมือต่างๆในการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดความเสี่ยง

คุณอลิสันยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเทศไทยรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะสำคัญในเดินทางไปโรงเรียนของเด็กๆ แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกเสมอ

ทั้งนี้ องค์การช่วยเหลือเด็กยังเสนอการใช้ทางเลือกอื่นในการเดินทางสำหรับเด็กๆได้แก่ รถประจำทาง รถไฟฟ้ารถสามล้อ รถแท็กซี่ และรถสองแถว

องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทยและมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือในการทำงานโครงการ “7 เปอร์เซ็นต์” มีวัตถุประสงค์ในการ ลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กไทยจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ โดยการเพิ่มอัตราการสวมหมวกนิรภัยจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 60 ภายในปี พ.ศ. 2560

###

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
คุณทรงพร ลีลากิตติโชค
เจ้าหน้าที่ประสานงานการสื่อสารและรณรงค์
องค์การช่วยเหลือเด็ก
อีเมล: bea.leelakitichok@savethechildren.org