ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเราในประเทศไทย

เสริมพลังให้กับเด็กทุกคนให้สามารถใช้สิทธิพลเมืองและเสรีภาพของตนได้อย่างปลอดภัย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติและความกลัวที่จะถูกตอบโต้ 

การกำกับดูแลสิทธิเด็กในประเทศไทย

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริบททางการเมืองในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมในเวทีออนไลน์และเวทีสาธารณะ รวมถึงการประท้วงข้างถนนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิของตนเราสนับสนุนเรื่องการเคารพสิทธิเด็กในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งรวมถึงการประท้วงอย่างสันติตามที่จารึกอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) (ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้ในปีพ.ศ. 2535) 

เด็กที่มีรสนิยมทางเพศอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกที่หลากหลาย (SOGIESC) หรือเลสเบียนเกย์ไบเซ็กชวลคนข้ามเพศอินเตอร์เซ็กส์เด็กที่ไม่แน่ใจหรือยังสงสัยในเพศของตน (LGBTIQ+) ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคที่แตกต่างกันไปในการตระหนักถึงสิทธิของตนเช่นกัน แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ค่อนข้างเปิดกว้างในแง่ของความหลากหลายทางเพศและเพศสภาพ แต่เด็ก LGBTIQ ยังคงต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนและในสถานพยาบาล การกลั่นแกล้งรังแกเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยที่ไม่มีกลไกการรับแจ้งที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน LGBTIQ+   

หากไม่มีการรับรองเพศสภาพตามกฎหมายเด็กข้ามเพศจะไม่สามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพตามเพศได้และไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องเพศในเอกสารและกระบวนการทางกฎหมายเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายระดับเด็กและเยาวชน LGBTIQ+ ก็มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพจิตย่ำแย่เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

สิ่งที่เราทำ

องค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศ เป็นองค์กรอิสระชั้นนำและแห่งแรกของโลกที่อุทิศตนเพื่อปกป้องสิทธิเด็กและเสริมพลังให้พวกเขาสามารถบรรลุศักยภาพของตนเองได้ 

เราเชื่อว่าเด็กทุกคนไม่ว่าจะมีรสนิยมทางเพศอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกมาอย่างไร (SOGIESC) พวกเขาควรได้รับการสนับสนุนเสริมพลังและปกป้องให้สามารถแสดงสิทธิพลเมืองของตนโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตอบโต้หรือเลือกปฏิบัติเราทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคประชาสังคมในท้องถิ่นโดยตรงในการปกป้องเด็กและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสิทธิเด็กในท้องถิ่น 

มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) ในปีพ.ศ. 2563-2564 ได้ทำงานผลักดันด้านสิทธิเด็กต่าง ๆ ได้แก่: 

  • ร่วมกับองค์กรพันธมิตรด้านเยาวชนและภาคประชาสังคมในการเผยแพร่รายงานฉบับแรกเกี่ยวกับกระบวนการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนของ UN ที่เน้นไปที่เด็กและเยาวชนที่มีรสนิยมทางเพศอัตลักษณ์ทางเพศการแสดงออกและลักษณะทางเพศที่หลากหลาย (SOGIESC) คนหนุ่มสาว 84 คนได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย) (ประเทศไทย)ในการเขียนข้อเสนอแนะลงในรายงานฉบับนี้และตัวแทนเยาวชน 2 คนและเด็ก 1 คนได้นำไปกล่าวในที่ประชุมที่เจนีวา ต่อมารัฐบาลไทยก็ได้รับข้อเสนอแนะ 12 ข้อเกี่ยวกับ SOGIESC ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาและทบทวนหลักสูตรทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ 

  • ได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนเล็กน้อยแก่เยาวชน 60 คนใน 15 ชุมชนในจังหวัดยะลานราธิวาสและปัตตานี เพื่อส่งเสริมให้มีการคุ้มครองเด็กให้ดีขึ้นและสร้างความสามัคคีในสังคมในชุมชนของพวกเขา 

ในปีพ.ศ. 2565 มูลนิธิฯ จะทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนให้มีพื้นที่พลเมืองที่ดีขึ้นและปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในการออกมาแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขา” 

“โครงการนี้ทำให้ฉันมีความมั่นใจมากขึ้นในประเด็นเรื่อง LGBTQI+ ฉันต้องการให้สังคมรู้ว่ามี LGBTQI+ อยู่ทุกหนทุกแห่งและมันไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เป็นเรื่องปกติหากคุณสามารถยอมรับและส่งเสริมความต้องการของเด็ก ๆ ในการพัฒนาและสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองพวกเขาจะมีชีวิตที่มีความสุขในอนาคต" 

- ผู้เข้าร่วมโครงการพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กของมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)