เด็กย้ายถิ่น ผู้ลี้ภัย และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งจะมีความพร้อมในการเรียนและมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีการสนับสนุนเชิงบวก และปราศจากความรุนแรง
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและเปิดกว้างทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีบทบาททั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่นำเสนอระบบการศึกษาเสริมหรือระบบที่ใช้การแข่งขัน ซึ่งทำให้ระบบการศึกษาไทยมีหลายชั้นและทำให้การประสานงานยุ่งยากและท้าทาย ปัจจุบันกฎหมายให้การรับรองการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นเวลาสิบห้าปีสำหรับเด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงผู้ย้ายถิ่นด้วย แต่ในทางปฏิบัติกลับมีช่องโหว่ชัดเจนที่ทำให้กลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาดังกล่าวได้
ปัจจุบันมีผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาร์จำนวน 97,000 รายในค่ายพักแรมในประเทศไทย และมีครอบครัวผู้ย้ายถิ่นอีกหลายแสนรายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเด็กในกลุ่มเหล่านี้ยังเข้าถึงการศึกษาและบริการอย่างไม่ต่อเนื่อง
องค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศเป็นผู้นำระดับโลกในการช่วยเหลือเด็กให้บรรลุสิทธิในการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่มีการแบ่งแยกกีดกัน เราดูแลให้เด็ก ๆ ให้มีความพร้อมและประสบความสำเร็จในการเรียน เพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิต
ในประเทศไทย มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)ช่วยเหลือเด็กย้ายถิ่นและเด็กผู้ลี้ภัยด้วยการให้พวกเขาได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้กลุ่มเด็กที่เปราะบางที่สุดได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ เราทำงานร่วมกับครู ผู้ปกครอง และผู้นำด้านการศึกษาเพื่อรับรองว่าเด็กจะได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่ถูกแบ่งแยกกีดกัน และได้รับการปกป้อง
เราดูแลให้เด็กเล็กได้เริ่มต้นชีวิตอย่างเข้มแข็งด้วยแผนการส่งเสริมนวัตกรรมการรู้หนังสือและการคำนวณ โดยชักชวนให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรมการศึกษาและการเล่นกับเด็ก
มูลนิธิฯ สนับสนุนให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนานโยบายคุ้มครองเด็กเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองเด็กภายในระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การสร้างจิตสำนึกในประเด็นการคุ้มครองเด็กแก่นักการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย เพื่อให้สามารถจัดการและประสานงานกรณีการล่วงละเมิดกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายในปีพ.ศ. 2557 เราวางแผนที่จะนำร่องโครงการปกป้องเด็กในพื้นที่บริการการศึกษา 24 แห่งทั่วประเทศไทย
ในปีพ.ศ. 2563-2564 เรา:
ได้ช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัย 19,064 คน ซึ่งเป็นเด็กพิการ 3,332 คนให้ได้เข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนและระบบการเรียนการสอนทางไกล (การเรียนรู้ทางไกลระหว่างโรงเรียนปิดอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19) ในค่ายพักพิง 9 แห่งในจังหวัดตาก, แม่ฮ่องสอน, กาญจนบุรี และราชบุรี ตามชายแดนไทย-เมียนมาร์
มูลนิธิฯ จัดการกับอุปสรรคและเพิ่มโอกาสให้เด็กอายุ 3-18 ปีได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)ทำงานร่วมกับพันธมิตรและคณะทำงานด้านการศึกษาของผู้ย้ายถิ่นในจังหวัดตากและจังหวัดระนองเพื่อเป็นกระบอกเสียงและสนับสนุนแนวทางแก้ไขในทางปฏิบัติเราได้ส่งเสริมการพัฒนาโดยเฉลี่ยในด้านการรู้หนังสือ (+61%) และการคิดเลข (+69%) ของเด็กอายุ 4-6 ปีที่พ่อแม่เข้าร่วมโปรแกรมปฐมวัยของเราในเมืองปัตตานี จัดทำหนังสือเด็ก 6 เล่ม ได้แก่ หนังสืออยากมีเพื่อน, ปิดไฟหน่อยนะ, อานิสเป็นหัด, แตงโมโตโต, อานิสกับกอล์ฟสู้โควิด, พ่อนกกกไข่ และหนังสือเด็กปัตตานี-มาเลย์ที่ทำแจกเป็นเล่มแรก และแจกหนังสือจำนวน 12,000 เล่มให้เด็ก ๆ หนึ่งในหนังสือที่มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (ประเทศไทย)จัดทำขึ้นได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“ผมและลูกสาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากกว่าเดิมตอนนี้ผมมีกิจกรรมและรู้วิธีเล่นกับลูกมากขึ้นแล้ว ลูกสาวของผมยังชอบมีส่วนร่วมและมีความสุขมากกับเกมและหนังสือนิทานที่คุณครูที่โรงเรียนมอบให้ด้วย”
- มาดาโอบะแอะผู้ปกครองชายจากโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย – นราธิวาส